ในเอกสารนี้อาจมีข้อความที่ท่านอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ
โปรดสอบถามหัวหน้าโครงการวิจัยหรือผู้แทนให้ช่วยอธิบายจนกว่าจะเข้าใจดี
ท่านอาจจะขอเอกสารนี้กลับไปอ่านที่บ้านเพื่อปรึกษา หารือกับญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท
แพทย์ประจำตัวของท่าน
หรือแพทย์ท่านอื่น เพื่อช่วยในการตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย:
โครงการพัฒนาระบบดูแลและสร้างเสริมสุขภาพชุมชนผ่านระบบฐานข้อมูลสุขภาพ
(ศิริราชสานสองวัย:บางกอกน้อยโมเดล)
ชื่อหัวหน้าโครงการวิจัย รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์
สถานที่วิจัย เขตบางกอกน้อย
สถานที่ทำงานและหมายเลขโทรศัพท์ของหัวหน้าโครงการวิจัยที่ติดต่อได้ทั้งในและนอกเวลาราชการ
รองศาสตราจารย์นายแพทย์นริศ กิจณรงค์
รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม
งานกิจกรรมเพื่อสังคม ตึกชัยนาทนเรนทรานุสรณ์ ชั้น 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร.02-419- 9065 และ 090-990- 6184
ผู้สนับสนุนทุนวิจัย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส).
(ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับแหล่งทุน)
ระยะเวลาในการวิจัย 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2561
ที่มาของโครงการวิจัย
จากโครงสร้างประชากรที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
โดยการเปลี่ยนจากภาวะอัตราการเกิดและอัตราการตายสูง
มาสู่ภาวะอัตราการเกิดและอัตราการตายต่ำ
ทำให้เกิดแนวโน้มของการเริ่มต้นการเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”
ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายต่อการเตรียมความพร้อมในการดูแล
คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมไทย ทั้งนี้การดูแลสุขภาพต้องครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ
อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ
และแต่ละบุคคลนั้นจะมีพื้นฐานสุขภาพที่ดีได้ ต้องรวมไปถึง
การเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสม
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีที่เป็นพื้นฐานทางจิตใจ การอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์
พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
รวมทั้งการป้องกันโรค
ซึ่งการป้องกันโรคนับเป็นปัจจัยที่สำคัญของการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพที่ดี
ที่มีต้องมีความครอบคลุมและยั่งยืน
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงมีโครงการ“ศิริราชสานสองวัย:บางกอกน้อยโมเ
ดล” ที่ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวทั้งวัยเด็ก วัยทำงาน ซึ่งเป็นรุ่นลูก รุ่นหลาน
สร้างความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุในครอบครัว
ปลูกฝังให้ทุกช่วงวัย ใส่ใจและดูแลผู้สูงอายุทั้งทางด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ
เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
โดยใช้ชุมชนบางกอกน้อยและบุคคลากรศิริราชเป็นต้นแบบในการพัฒนา
เนื่องจากปัจจัยกำหนดสุขภาพของผู้สูงอายุมีหลายองค์ประกอบ
การมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพด้วยการรักษาพยาบาลเพียงอย่างเดียว
ไม่สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนได้
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุต้องเริ่มตั้งแต่บุคคลอยู่ในครรภ์ และเติบโตเข้าสู่วัยเด็ก
วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยก่อนเข้าวัยผู้สูงอายุ
และต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ ความปลอดภัยในชีวิต สิ่งแวดล้อม
เศรษฐศาสตร์ และสังคมด้วย ตลอดจนการ
การสร้างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพที่เข้มแข็งที่ไม่หวังพึ่งการรักษาเมื่อเจ็บป่วยเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม
การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ ต้องเริ่มต้นจากการมีฐานข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง เชื่อถือได้
และเป็นปัจจุบัน
อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพได้ตรงจุด ทำให้เกิดการวางแผนกิจกรรมโครงการ
การดำเนินงาน
และกระบวนการเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพซึ่งถือเป็นระยะที่ 1
ของโครงการอันจะนำไปสู่ระยะต่อไปในการพัฒนาระบบการดูแลรักษาสุขภาพของชุมชนในเขตเมืองให้ตรงกับความต้องการข
องผู้สูงอายุของประชาชนและชุมชน
จากการศึกษาฐานข้อมูลสุขภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพประชาชน พบว่า
ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานต่างๆขาดการบูรณาการ ขาดการส่งต่อข้อมูลเชื่อมต่อกัน
ทำให้ปัจจุบัน
ยังไม่มีฐานข้อมูลสุขภาพที่ครอบ คลุมทุกมิติที่ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพของคน
ในชุมชนเขตเมือง
คณะฯจึงได้มีโครงการพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลสุขภาพผ่านอุปกรณ์ เคลื่อนที่ ได้แก่
แอปพลิเคชันสำหรับมือถือและแท็บเล็ต รวมทั้งเว็บไซต์บนอินเทอเน็ต
เพื่อให้การเก็บข้อมูลสุขภาพสามารถเข้าถึงกลุ่มประชากรได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม
การนำข้อมูลสุขภาพดังกล่าวไปใช้จำเป็น
ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในเชิงการวิจัยสุขภาพ
โดยการดำเนินการในระยะที่หนึ่ง คือ
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพเพื่อพัฒนาระบบดูแลและสร้างเสริมสุขภาพและ
การสร้างเครือข่ายและกระบวนการเรียนรู้จากการจัดการข้อมูลสุขภาพเพื่อการจัดการระบบดูแลสุขภาพ
และระยะที่สองคือ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพ
นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำฐานข้อมูลเพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีส่วนร่วม
เชื่อถือได้และเป็นปัจจุบัน
นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสมรรถนะหลักของคณะฯและองค์กรภาครัฐในพื้นที่
เพื่อพัฒนาการดำเนินงานและรูปแบบโครงการ
กิจกรรมเพื่อแก้ไขหรือลดผลกระทบของปัญหาสุขภาพในอนาคต
วางรากฐานให้ประชาชนมีความรู้ในกระบวนการป้องกันการเกิดโรคและการสร้างเสริมสุขภาพด้วยตนเองเพื่อรองรับการเปลี่
ยนแปลงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1.
เพื่อจัดทำฐานข้อมูลสุขภาพของชุมชนในเขตบางกอกน้อยโดยจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพรวมทั้งปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อการดูแลสุ
ขภาพ
2.
เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพของชุมชนในเขตเมืองโดยใช้ชุมชนบางกอกน้อยเป็นกรณีศึกษา
3. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพ ได้แก่
แอปพลิเคชันบางกอกน้อยโมเดล
และแอปพลิเคชันที่ใช้บนเว็บไซต์
(ท่านได้รับเชิญให้เข้าร่วมการวิจัยนี้เนื่องจาก
ท่านเป็นกลุ่มเป้าหมาย อายุ 18 ปีขึ้นไป
ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและปัจจัยด้านอื่นๆของชุมชนบางกอกน้อย)
มีผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครนี้ทั้งสิ้นประมาณ 177,710 คน
1. เก็บข้อมูลทุกกลุ่มวัย 42 ชุมชน ในเขตบางกอกน้อย กลุ่มเป้าหมายหลักคือ
กลุ่มผู้สูงอายุ
ประชาชนเขตบางกอกน้อย จำนวน 158,533 คน (ที่มา :สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553)
2.บุคลากรคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 15,715 คน
(ที่มา:ข้อมูลบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประจาปี 2558)
3.นักศึกษาในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจำนวน 3,462 คน (ที่มา:ข้อมูลนักเรียน
นักศึกษา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประจำปี พศ. 2558)
หากท่านตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัยแล้ว จะมีขั้นตอนการวิจัยดังต่อไปนี้คือ
ขอให้ผู้เกี่ยวข้องหรือทีมผู้วิจัย
นำเอกสารที่จะเข้าร่วมอยู่ในโครงการวิจัยนำไปให้ท่านอ่านและทราบถึงความเป็นมาพร้อมเซ็นชื่อยินยอมเข้าร่วม
โดยขอให้ท่านตอบข้อมูลแบบสอบถาม
ตามที่เอกสารแนบเพื่อที่ทีมผู้วิจัยจะได้นำข้อมูลในแบบสอบถามที่เกี่ยวกับท่าน
นำไปเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ได้
ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเข้าร่วมการวิจัย
ท่านจะไม่ได้รับความเสี่ยงหรือความไม่สบายต่างๆในการตอบแบบสอบถามแต่อาจมีข้อคำถามที่มีผลต่อความรู้สึกอึดอัด
ไม่สบายใจในการให้ข้อมูลเป็นต้น
หากมีข้อสงสัยที่จะสอบถามเกี่ยวข้องกับการวิจัย
หรือหากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการวิจัย
ท่านสามารถติดต่อ
รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ เบอร์ที่สามารถติดต่อได้ 02-419-
9065 และ 090-990- 5656
ประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รับจากการวิจัย
ข้อมูลของท่านจะเป็นฐานข้อมูลของสถานพยาบาลที่สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการรักษาโรคต่อไปในอนาคต
ได้
(ไม่มีค่าตอบแทนที่ผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครจะได้รับ)
(ไม่มีค่าใช้จ่ายที่ผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครจะต้องรับผิดชอบเอง)
หากมีข้อมูลเพิ่มเติมทั้งด้านประโยชน์และโทษที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้
ผู้วิจัยจะแจ้งให้ทราบโดยรวดเร็วและไม่ปิดบัง
ข้อมูลส่วนตัวของผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร
จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับและจะไม่เปิดเผยต่อสาธารณะเป็นรายบุคคล
แต่จะรายงานผลการวิจัยเป็นข้อมูลส่วนรวม
กรณีเป็นการวิจัยทางคลินิกผลการวิจัยในภาพรวมนี้อาจดูได้จากเว็บไซด์(
https://www.ClinicalTrials.gov /
http://www.ClinicalTrials.in.th.)
ข้อมูลของผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครเป็นรายบุคคลอาจมีคณะบุคคลบางกลุ่มเข้ามาตรวจสอบได้
เช่น ผู้ให้ทุนวิจัย
ผู้กำกับดูแลการวิจัย สถาบันหรือองค์กรของรัฐที่มีหน้าที่ตรวจสอบ
รวมถึงคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
เป็นต้น
โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครในการรักษาความลับเกินขอบเขตที่กฎหมายอนุญาตไว้
ผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครมีสิทธิ์ถอนตัวออกจากโครงการวิจัยเมื่อใดก็ได้
โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
และการไม่เข้าร่วมการวิจัยหรือถอนตัวออกจากโครงการวิจัยนี้
จะไม่มีผลกระทบต่อการบริการและการรักษาที่สมควรจะได้รับตามมาตรฐานแต่ประการใด
หากผู้อยู่ในความดูแลของท่านได้รับการปฏิบัติที่ไม่ตรงตามที่ได้ระบุไว้ในเอกสารชี้แจงนี้
ท่านสามารถร้องเรียนไปยังประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนได้ที่
สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
ชั้น 2 โทร.0
2419 2667-72 โทรสาร 0 2411 0162